การจัดการด้านอาชีวอนามัย
สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย
ของผู้รับเหมา

กระบวนการจัดการด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้รับเหมา (CHESM) ช่วยส่งเสริมความคาดหวังด้านการจัดการความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการบริหารจัดการด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน โดยนำมาใช้เพื่อพิจารณาความพร้อมของผู้รับเหมาในด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติคู่ค้าของเชฟรอน

วัตถุประสงค์

กระบวนการจัดการด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้รับเหมา (CHESM process) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดภาระรับผิดชอบที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงระหว่างเชฟรอนและบริษัทผู้รับเหมาอย่างเต็มที่ และใช้โปรแกรมที่สอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่การขจัดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับเหมาได้

ขอบเขต

กระบวนการจัดการด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้รับเหมา (CHESM process) จัดทำขึ้นเพื่อประเมินและจัดการความเสี่ยง อันเนื่องมาจาก
  • กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาการจ้างงานภายในสถานที่ปฏิบัติงานของเชฟรอน (Chevron premises) หรือ ในขอบเขตความรับผิดชอบของเชฟรอน (OE reporting boundary)
  • กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาการจ้างงานเพื่อการออกแบบ (facility design) และการผลิต (fabrication services) ในธุรกิจของเชฟรอน

ทำไมการจัดการด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้รับเหมาจึงมีความสำคัญ

ร้อยละ 75 ของชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของเชฟรอนทั่วโลก เกิดจากการทำงานของผู้รับเหมา ดังนั้นผู้รับเหมาจึงถือ ได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำและสนับสนุนการกำกับดูแลการปฏิบัติงานต่างๆ ในสถานที่ปฏิบัติงานของเชฟรอน

 

คู่มือความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน


คู่มือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุความคาดหวังของเชฟรอนประเทศไทย

 

การป้องกันการสูญเสียชีวิต – การตรวจสอบก่อนเริ่มงาน

 

เชฟรอนประเทศไทยได้เริ่มนำการตรวจสอบก่อนเริ่มงาน มาใช้ในทุกๆ สถานที่ปฏิบัติงานของเชฟรอนและของบริษัทรับเหมาที่อยู่ภายในขอบเขตความรับผิดชอบของเชฟรอน (OE reporting boundary) ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แบบฟอร์มการตรวจสอบก่อนเริ่มงานนี้ใช้งานง่าย และช่วยสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ  ที่ระบุในกระบวนการจัดการเพื่อปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย (Managing Safe Work) และมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีมาตรการป้องกันที่สำคัญ (critical safeguards) และได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

 

โปรแกรมสำหรับพนักงานใหม่ (Short Service Employee, SSE)

 

วัตถุประสงค์ของโปรแกรมนี้ คือ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการบ่งชี้พนักงานใหม่ มีการกำกับดูแล ฝึกอบรม การสอนงาน และการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บของตนเอง หรือทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพย์สินเสียหาย ผู้รับเหมาจะต้องมีโปรแกรมสำหรับพนักงานใหม่ (Short Service Employee, SSE) เพื่อบริหารจัดการ SSE ตามข้อกำหนดของเชฟรอน

 

ความพร้อมในการทำงาน (Fitness for Duty, FFD)

 

วัตถุประสงค์ของโปรแกรมนี้ คือคือเพื่อให้ผู้รับเหมาตรวจสอบความพร้อมของพนักงานในการทำงานที่จะได้รับมอบหมาย

 

การจัดการเมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการทำงาน (Case Management)

 

ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อพนักงานหรือผู้รับเหมาได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานในขอบเขตความรับผิดชอบของเชฟรอน (OE reporting boundary) โดยรวมถึงสถานปฏิบัติงานกลางทะเล (offshore)  ฐานสนับสนุนบนฝั่ง (onshore) และสำนักงานที่กรุงเทพ